Highlights

จีนสร้าง carbon trading platform ให้คนสะสมคะแนนทุกครั้งที่ช่วยโลก

จะดีไหมครับถ้าทุกอย่างที่คุณทำเพื่อช่วยโลกและสิ่งแวดล้อม จะกลายเป็นคะแนนสะสมให้คุณแลกของ eco ใน app e-commerce ไว้ใช้ มันเกิดขึ้นแล้วในประเทศจีนครับ มณฑลกวางตุ้งได้สร้าง carbon trading platform ชื่อว่า Tan Pu Hui (แปลว่า carbon inclusivemess) เพื่อสร้างพฤติกรรมลดคาร์บอนในกลุ่ม SME และประชาชนทั้วไป โดยใช้คอนเซป gamification ดึงดูดคน ทุกพฤติกรรมที่ช่วยลดคาร์บอนจะได้รับคาร์บอนเครดิตไว้ใช้แลกของรางวัล Eco  มีหลายบริษัทและรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศจีนให้ความสนใจและเข้าร่วมกับโครงการนี้ โดยสร้าง App ที่พัฒนาบน platform นี้เพื่อให้คนได้สะสมแต้ม สำหรับทุก Action ที่ช่วยโลก อย่างเช่นใช้แก้วรีไซเคิลไปซื้อกาแฟที่ Starbucks หรือใช้บันไดแทนลิฟท์ หรือปิดไฟ หรือขี่จักรยานแทนการใช้รถก็ได้แต้มแล้ว วิธีใช้ก็ง่ายๆ คุณแค่โพสต์รูปของคุณที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมลงใน App อย่างเช่น Taobao (App e-commerce อันดับ 1 ของจีน) คุณก็จะได้รับคะแนน โดย AI จะคำนวณว่าพฤติกรรมของคุณช่วยลดคาร์บอนได้มากแค่ไหน …

จีนสร้าง carbon trading platform ให้คนสะสมคะแนนทุกครั้งที่ช่วยโลก Read More »

EU เข้มขึ้นอีกเรื่องปกป้องป่าโลก ออกกฏให้ธุรกิจควบคุม supply chain ไม่ทำลายพื้นที่ป่า

สำหรับคนรักป่า คุณน่าจะดีใจเหมือนกับผมเมื่อกฏ anti-deforestation ได้ถูกบังคับใช้แล้วใน EU   ไม่ใช่แค่ carbon emissions ใน supply chain เท่านั้นที่ EU ให้ความสนใจ แต่ตอนนี้บวกเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าเข้าไปด้วยด้วย ตั้งแต่สิ้นปี 2024 ธุรกิจใน EU จะต้องระบุที่มาของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อวัว โกโก้ กาแฟ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง ยางและไม้ และจะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าพื้นที่ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชดังกล่าวไม่ได้เป็นพื้นที่ป่ามาก่อนนับตั้งแต่ปี 2020   เพราะมันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ป่าของโลกหายไป เนื่องจากพื้นที่การเกษตรนั้นมีจำกัด แต่ดีมานด์สินค้ากลับเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับสภาพความเป็นเมืองที่ขยายตัวต่อเนื่อง (urbanization) ทำให้พื้นที่การเกษตรที่จำกัดอยู่แล้วก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ทำให้มีการบุกรุกป่าเพื่อปลูกพืชและทำปศุสัตว์ดังกล่าวเพื่อป้อนระบบอุตสาหกรรม (เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ Food Security ไว้โอกาสหน้ามาเล่าให้ฟังนะครับ)   ในปี 2022 ทั้งโลกสูญเสียพื้นที่ป่าไป 4.1 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ เท่ากับ 10,000 ตารางเมตร) หรือ ทุกๆ 1 นาทีเราเสียพื้นที่ป่าเท่ากับสนามฟุตบอล 11 …

EU เข้มขึ้นอีกเรื่องปกป้องป่าโลก ออกกฏให้ธุรกิจควบคุม supply chain ไม่ทำลายพื้นที่ป่า Read More »

ขอบคุณหมากฝรั่งกล่องนี้ ที่ทำให้รู้ว่าเราเคี้ยวพลาสติกมาทั้งชีวิต

ถ้าคุณยังไม่รู้ว่าหมากฝรั่งที่เรากำลังเคี้ยวอยู่ มีส่วนผสมของ “พลาสติก” เราคือ เพื่อนกัน  เมื่อวันก่อน ได้ไปเดินซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ขึ้นชื่อเรื่องอาหารสุขภาพในอเมริกาอย่าง Whole food แล้วสะดุดตากับหมากฝรั่งแบรนด์หนึ่ง เพราะเขียนบนกล่องว่า “Don’t chew plastic-gum”  แม้ว่าส่วนตัวจะไม่ได้ชอบเคี้ยวหมากฝรั่ง เพราะเรื่องบุคลิกภาพและความขี้เกียจคายทิ้งของตัวเอง แต่ก็อดไม่ได้ที่จะซื้อมาลองด้วยความสงสัย และทำการรีเซิร์ชเพิ่มเติมตามสไตล์ เริ่มจากความสงสัยว่า เอ้ะ หมากฝรั่งทำจากพลาสติกด้วยหรอ? US FDA อนุญาตให้หมากฝรั่งสามารถทำจากสารสังเคราะห์ หรือ gum-based ซึ่งประกอบไปด้วยสารหลายชนิด อาทิ Butadiene-styrene, Petroleum wax, Polyethylene plastic, Polyvinyl acetate เป็นต้น ซึ่งเป็นสารดังกล่าวสามารถพบได้ในถุงพลาสติก, พื้นรองเท้า, กาว ฯลฯ ด้วยเหตุนี้หมากฝรั่งทั่วไปจึงเป็นขยะที่ต้องใช้เวลามากกว่า 400 ปี ในการย่อยสลาย อ่านถึงตรงนี้ หลายคนคงสะดุ้งนิดหน่อย สรุปมันกินได้ใช่ไหม? คำตอบคือ กินได้ เพราะมีปริมาณน้อย และที่สำคัญคือ เราไม่ได้กลืนลงไป ด้วยเหตุนี้พลาสติกหรือสารสังเคราะห์เหล่านี้จึงได้รับอนุญาตให้ใช้ในหมากฝรั่งได้ แถมปัจจุบันยังไม่มีวิจัยยืนยันอย่างเป็นทางการอีกว่า microplastic …

ขอบคุณหมากฝรั่งกล่องนี้ ที่ทำให้รู้ว่าเราเคี้ยวพลาสติกมาทั้งชีวิต Read More »

Scroll to Top