Case Study

Kamikatsu เมืองที่เคยตายกลับมีชีวิตด้วยการขาย Zero Waste Beer

Rise & Win คือชื่อบริษัทที่ผลิตเบียร์นี้ ชื่อที่บอก attitude ของเขาที่มีต่อความล้มเหลวอย่างดี เริ่มจาก ปี พ.ศ. 2546 ชาวบ้านในเมือง Kamitkatsu (คามิคัตสึ) ร่วมใจกันจะเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมือง Zero Waste แห่งแรกของญี่ปุ่น แต่เมืองนี้เป็นเมืองที่ใกล้ตายเพราะมีแต่คนแก่  คนหนุ่มสาวต่างเข้าไปทำงานในเมือง ไม่มีแม้แต่ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต มีแค่ภูเขาและแม่น้ำที่สวยงาม  . เจ้าหน้าที่ประจำเมืองเลยหาบริษัทเอกชนเพื่อมาเป็นพาร์ทเนอร์ช่วยกันสร้างให้เมืองนี้มีชีวิตอีกครั้ง จนพบกับ SPEC bio laboratory Inc. ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับชีววิทยาศาสตร์สำหรับ B2B และไอเดียแรกที่พวกเขาทำกันคือ Refill Station ร้านขายของใช้ส่วนตัวและอาหารที่ให้ชาวบ้านนำภาชนะมาเติมเอง เพื่อแก้ปัญหา packaging waste  . ทำได้ 2 ปีพังไม่เป็นท่า เพราะชาวบ้านที่เป็นคนแก่ไม่ชินกับการซื้อแบบนี้ และธุรกิจนี้ก็ไม่ว้าวพอที่จะดึงคนนอกให้มาเที่ยวที่เมือง แต่ทีมงานก็ไม่ยอมแพ้ เก็บบทเรียนของความล้มเหลวแล้วเดินทางไปที่เมือง Portland สหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในช่วงเวลานั้นเพื่อหาแรงบันดาลใจ จนพบกับ Craft Beer . ชาวเมือง Portland …

Kamikatsu เมืองที่เคยตายกลับมีชีวิตด้วยการขาย Zero Waste Beer Read More »

Kamikatsu เมืองที่ทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องสนุกจน recycle เป็นอันดับ 1 ของโลก

เมืองที่มีค่าเฉลี่ยการรีไซเคิลสูงที่สุดในโลก ไม่ใช่ เวียนนา ที่จัดเป็นเมืองหลวงน่าอยู่ที่สุดในโลก (49%) หรือเมืองแถบสแกนดิเนเวีย โคเปนเฮเกน (57%) หรือ แวนคูเวอร์ (60%) แต่เป็นคามิคัทสึ (Kamikatsu)  (80%) เมืองที่ทำให้การแยกขยะไม่ใช่การแยกขยะ . เราเลยอยากชวนคุณไปเรียนกับ ‘คามิคัตสึ (Kamikatsu)’  คอร์สนี้คุณจะได้เรียนการทำ zero waste แบบ immersive จนมันเข้าไปในตัวคุณ ทั้งความรู้ จิตวิญญาณ Purpose ของเมือง และ Kamikatsu ยังมีธุรกิจยั่งยืนมากมาย  . แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ Kamikatsu เคยปวดหัวกับขยะที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดตามจำนวนประชาการและข้าวของที่เพิ่มขึ้น ชาวเมืองเลยรวมตัวกันของบจากรัฐบาลเพื่อสร้างเตาเผาขยะ แต่ใช้ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะเกิดสารไดออกซินที่เป็นอันตราย แล้วจะจัดการขยะยังไงหล่ะ เงินก็หมดแล้ว จะขนไปจัดการที่เมืองอื่นก็แพง พอเข้าตาจนมันก็เหลือทางรอดเดียว คือ รีไซเคิล . และเมืองนี้ทำให้รีไซเคิลไม่ใช่ภาระแต่สนุกที่จะทำ จนสามารถแยกขยะได้ถึง 45 ประเภท โดยเริ่มจากแจกคู่มือให้ทุกบ้านและส่งคนไปสอนบางบ้านที่เจอกับความท้าทายในการแยก . จากนั้นสร้างโรงขยะที่ไม่ใช่โรงขยะ แต่เป็นที่สังสรรค์ของชาวเมืองโดยทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ Why Zero …

Kamikatsu เมืองที่ทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องสนุกจน recycle เป็นอันดับ 1 ของโลก Read More »

“Kamitkatsu” เมืองที่แก้ Aging Society ด้วยการเก็บใบไม้ขาย

ถ้ามีคนหัวเราะเยาะ passion ของคุณ และตัวคุณเองก็กลัวว่าจะทำ passion ไม่สำเร็จ คุณจะทำอย่างไร . เราอยากให้คุณลองเก็บใบไม้ขายแบบคุณ Tomoji Yokoishi ผู้ก่อตั้ง Irodori Leaf Business เมือง Kamikatsu . การปลูกส้มเคยเป็นอาชีพหลักและความภาคภูมิใจของชาวบ้านจนกระทั่งเจอกับความหนาวเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1981 กับอุณหภูมิ -12 องศา ต้นส้มตายหมด กว่าจะปลูกต้นส้มใหม่โตพอที่จะออกผลขายได้ก็ใช้เวลาหลายปี คนหนุ่มสาวจึงย้ายออกจากเมืองเกือบหมดเพื่อหางานทำในเมือง  . ที่เหลืออยู่ก็มีแต่คนแก่ที่รู้สึกไร้คุณค่า ลูกหลานทิ้ง แล้วยังต้องรอรับเงินบริจาคจากรัฐบาล  . และวิกฤตที่ Kamikatsu เจอก็เหมือนทุกวิกฤตที่เราเจอในชีวิต มันทำให้เรา “เก่งขึ้น” . คุณ Tomoji Yokoishi เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรหาทางแก้เมืองที่ไร้ชีวิต จนวันหนึ่งเขาได้ไปงาน event ในร้านอาหารที่โอซาก้า Yokoishi สังเกตว่าคนที่มางานรู้สึกชอบและ ว้าว ไปกับกับใบไม้ที่อยู่บนจานข้าวมากกว่าอาหารบนจานซะอีก . ที่ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรม ‘eat with your eyes …

“Kamitkatsu” เมืองที่แก้ Aging Society ด้วยการเก็บใบไม้ขาย Read More »

เมื่อดวงดาวระเบิดออก และคนที่เรารักจากไป พวกเขาไปไหน

ดวงดาวตายเพื่อให้เราได้มีชีวิต . “อะตอมทุกอะตอมในตัวเรามาจากดวงดาวที่ระเบิดออก  เราทุกคนคือละอองดาว เพราะธาตุที่สำคัญกับวิวัฒนาการทั้งคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน เหล็ก ไม่ได้มีตั้งแต่แรก และมีทางเดียวที่จะให้ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในตัวเราได้คือการระเบิดของดวงดาว ดวงดาวตายเพื่อให้เราได้มีชีวิต” Lawrence Krauss นักฟิสิกส์และนักจักรวาลวิทยา . ถ้าการเดินทางของดวงดาวหลังการแตกดับคือกลายเป็นตัวเรา แล้วการเดินทางของคนที่เรารักหลังความตายจะไปไหน . ผมรู้จัก Charlie Munger และขอเป็นลูกศิษย์อย่างไม่เป็นทางการ นับตั้งแต่ covid แพร่ครั้งแรก ผมอยากพัฒนาตัวเองช่วงถูก Lock Down เลยไล่อ่านหนังสือและดูคลิป youtube จนได้พบกับ Charlie จาก 1 คลิปกลายเป็นนับไม่ถ้วนจนเขากลายเป็น Role Model ให้ผมใช้ชีวิตตามแบบเกือบทุกอย่าง  . มีหลายคนทักว่าผมเปลี่ยนเป็นคนละคนหลัง covid วิปัสสนาเปลี่ยนแปลงโลกภายในของผม ส่วนโลกภายนอกของผมเปลี่ยนไปเพราะ Charlie . Charlie Munger เสียชีวิตวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา . ความเก่งกาจของ Charlie อยู่ระดับต้นๆของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย เขาเป็นคนสร้าง …

เมื่อดวงดาวระเบิดออก และคนที่เรารักจากไป พวกเขาไปไหน Read More »

 “หนังโป๊” เป็นสาเหตุความรุนแรงต่อผู้หญิงและความไร้สมรรถภาพของผู้ชาย

ก่อนจะมีสมาร์ทโฟนการดูหนังโป๊เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถเหมือนการแอบเลี้ยงแมวในคอนโด ต้องใส่แว่นดำ หลบๆซ่อนๆเพราะกลัวคนจับได้เข้าร้านหนังโป๊เพื่อซื้อแผ่น cd หรือเทป VHS ซื้อมาแล้วก็ต้องหาที่เก็บซ่อนให้มิดชิด อาจเป็นใต้ฟูกเตียง หรือลิ้นชักเก็บกางเกงในที่ไม่มีวันที่จะมีคนมาคุ้ย จะดูแต่ละทีก็ต้องรอให้คนในบ้านไม่มีใครอยู่เพราะต้องเปิดทีวีดู มาวันนี้แค่กดมือถือก็ดูได้แล้ว   แต่ความง่ายก็มีราคาที่เราต้องจ่าย   ปี 2009 ภายหลังมีการเปิดตัว iPhone ครั้งแรกของโลก 2 ปี Pornhub มี unique visitors เข้าเว็บหลายล้านคนต่อเดือน    ปี 2022 ตัวเลขนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 10.2 พันล้านต่อเดือน กลายเป็นเว็บที่มีคนใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และ 97% ใช้งานผ่านมือถือ   รวมทั้งตัวเลขผู้หญิงที่เจอความรุนแรงขณะมีเซ็กซ์และผู้ชายที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศก็โตอย่างก้าวกระโดด   หน่วยงานของรัฐบาลฝรั่งเศสพบว่า 90% ของหนังโป๊ออนไลน์จะมีการใช้ความรุนแรงทางคำพูด ทางร่างกาย รวมทั้งทางเซ็กซ์กับผู้หญิง  “simulated incest, bestiality, extreme bondage, sex with unconscious women, …

 “หนังโป๊” เป็นสาเหตุความรุนแรงต่อผู้หญิงและความไร้สมรรถภาพของผู้ชาย Read More »

 เพราะทางเท้ากรุงเทพทำให้ “คนโสด” คนไทยต้องการ “ความเท่าเทียมด้านความรัก”

นี่คือความไม่เท่าเทียมทางความรักของหญิงและชาย   ผังเมืองของกรุงเทพไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตคู่และมีส่วนทำให้คนไม่มีแฟน Clio Andris ได้ทำวิจัยเรื่อง “Romantic Relationships and the Built Environment” พบว่าโครงสร้างของเมืองมีผลกระทบกับความสัมพันธ์เพราะมันกำหนดสิ่งแวดล้อมที่คนใช้ชีวิตและมีปฏิสัมพันธ์กัน และกรุงเทพมีลักษณะตรงข้ามกับเมืองที่เอื้อให้คนรักกันเกือบทุกข้อ ทางเท้าเราส่วนใหญ่เล็กเกินจะเดินจูงมือกัน ไอ้ที่พอเดืนได้ก็มักจะพัง รถติดแถมระบบขนส่งสาธรณะก็ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เดินทางยากและไม่ได้ใข้เวลาด้วยกัน ต้องเหนื่อยเครียดและหมดเวลาไปกับท้องถนน เราไม่มีสวนหรือพื้นที่สีเขียวให้พบกับคนใหม่ๆ เราไม่มี public space โรแมนติคริมน้ำหรือ cultural venue ให้คนเดทกัน นี่ยังไม่นับรวม pm 2.5 ที่ทำให้เราต้องใส่หน้ากากปิดหน้าปิดตา   มันก็เลยต้องมี dating app   ในความรัก ผู้หญิงถูก treat เป็นพลเมืองชั้น 2 ทั้งในออนไลน์และออฟไลน์    ตั้งแต่เด็กผมชอบและชื่นชมผู้หญิงที่จีบผู้ชายก่อน สำหรับคนที่เกิดในยุค Gen X และ Gen Y ต้นๆการเป็นฝ่ายเดินเข้าไปทักผู้ชายก่อนและขอเบอร์จะโดนเพื่อนมองว่าแรง โดนผู้ชายมองว่าใจง่าย โดนคนรอบข้างมองว่าลดคุณค่าผู้หญิง การที่ผู้หญิงธรรมดาคนนึงจะ honest กับความรู้สึกตัวเองและเผยมันอย่างตรงไปตรงมาได้ต้องต่อสู้กับคำตัดสินของคนรอบข้าง …

 เพราะทางเท้ากรุงเทพทำให้ “คนโสด” คนไทยต้องการ “ความเท่าเทียมด้านความรัก” Read More »

ห้างดังในฝรั่งเศส “Carrefour” ปกป้องลูกค้าด้วยการติดป้าย “ราคาเดิม แต่ลดปริมาณ” 

“shrinkflation” หรือกลยุทธ์ลดปริมาณสินค้าแต่ขายราคาเดิม เป็นกลยุทธ์ที่นักการตลาด consumer product ชอบใช้ เวลาที่อยากเพิ่มหรือรักษากำไร แต่ไม่กล้าขึ้นราคา เพราะกลัว consumer ไม่ซื้อ ทางออกก็คือลดปริมาณแต่คงราคาขายเดิม หรือหนักกว่านั้นคือเพิ่มราคาขายเล็กน้อยโดยที่ consumer ไม่ทันสังเกต บางคนทำเนียนมากขึ้นด้วยการใช้ Packaging size เดิม แต่ให้ของน้อยลง อันนี้คนไทยเจอบ่อย โดยเฉพาะพวกขนมขบเคี้ยว   ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ตในฝรั่งเศส Carrefour ทำป้ายติดบนชั้นวาง “shrinkflation” หรือ “ราคาเดิม แต่ลดปริมาณ” เพื่อเตือนลูกค้าก่อนซื้อและกดดันเจ้าของสินค้าให้ลดราคาลง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อสูง   Carrefour ได้ติดป้ายรวม 26 สินค้า ที่ผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เนสท์เล่ เป๊ปซี่ และยูนิลีเวอร์ นมผงเด็ก Guigoz ที่ผลิตโดยเนสท์เล่ ลดขนาดลงจาก 900 กรัม เหลือ 830 กรัม ชาขวด ลิปตัน รสพีชที่ผลิตโดยเป๊ปซี่ ลดขนาดลง จาก …

ห้างดังในฝรั่งเศส “Carrefour” ปกป้องลูกค้าด้วยการติดป้าย “ราคาเดิม แต่ลดปริมาณ”  Read More »

 “ซ่อมเถอะหลาน” สิ่งที่ตายายคู่หนึ่งบอกกับ Apple

มีคนเคยถามตายายคู่หนึ่งว่า “ทำยังไงถึงรักกันได้มาตั้ง 65 ปี”   คุณยายตอบว่า “เราเกิดในยุคที่อะไรพังเราก็ซ่อม ไม่โยนทิ้งแล้วซื้อใหม่”   หัวใจของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือทำให้ “การบริโภค” เป็นวิถีในการดำเนินชีวิตของคน โดยมี 3 วิธีหลัก   1. ทำให้สิ่งของ “ล้าสมัย” ให้เร็วที่สุดอย่างแฟชั่น ปรับเปลี่ยนดีไซน์เพื่อบีบให้เราทิ้งของที่มีอยู่ทุก 6 เดือน   2. ทำให้คนรู้สึกผิด ไม่มั่นใจ รู้สึกด้อยกว่า หากใช้ของที่ถูกกว่าคนรอบข้าง เช่นพวกแบรนด์หรู   3. ทำให้สิ่งของ “เสื่อมสภาพ” ให้เร็วที่สุดและไม่คุ้มที่จะซ่อม  คนจะได้ซื้อใหม่เช่น “Fast Furniture” อย่าง ikea ที่ใช้งานได้ไม่นานก็พัง หรือ iPhone และ Mac อะไรเสียนิดหน่อยค่าซ่อมก็แพงมาก ซื้อใหม่ดูจะคุ้มกว่า   และนั่นทำให้เราสร้างขยะจำนวนมหาศาล เพราะของที่ยังใช้ได้ก็ถูกกลไกระบบทุนนิยมทำให้มันใช้การไม่ได้   ในแต่ละปีทั่วโลกสร้าง e-waste (หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์) …

 “ซ่อมเถอะหลาน” สิ่งที่ตายายคู่หนึ่งบอกกับ Apple Read More »

“Dark Economy” ธุรกิจเริ่มปรับตัว เมื่อคนเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตเพราะโลกร้อน

Shopping ตอนตี 1 จูงหมาเดินเล่นตอนเที่ยงคืน  ไลฟสไตล์ใหม่ของคนอเมริกัน ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก   ปีนี้เป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลกและของประเทศอเมริกา ทำให้คนหันมาใช้ชีวิตตอนกลางคืนแทนกลางวัน   “Lifestyle เปลี่ยน การใช้เงินเปลี่ยน”   Warren Buffet บอกว่าธุรกิจจะถูก disruption หรือไม่ ให้ดูพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปไหม   และความร้อนที่เพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมการใช้เงินของคนเปลี่ยน   เมื่อคนปรับพฤติกรรมใช้ชีวิตตอนกลางคืนแทนกลางวันเพราะอากาศมันเย็นกว่า จึงเกิดธุรกิจใหม่ที่มากกว่าแค่ pub หรือ party คนหันมาเข้ายิมตอนเที่ยงคืน วิ่งหลังพระอาทิตย์ตกแล้ว ซื้อของซุปเปอร์หลัง 3 ทุ่ม หรือคนงานก่อสร้างเริ่มงานตอนตี 4    รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นที่ขยายเวลาการให้บริการสาธารณะ อย่างเช่นสระว่ายน้ำ ชายหาด หรือสวนสาธรณะ   ส่วนตอนกลางวันคนอเมริกันจะหาโอกาสงีบเพื่อที่จะได้ใช้ไลฟสไตล์เวลากลางคืน คนที่ทำงานอาชีพอิสระอย่าง personal development coach ปรับมาเริ่มทำงานหลัง 3 ทุ่ม   คนเซิชหาม่านบังแสงใน Amazon เพิ่มขึ้นถึง 113% ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว …

“Dark Economy” ธุรกิจเริ่มปรับตัว เมื่อคนเปลี่ยนนาฬิกาชีวิตเพราะโลกร้อน Read More »

Girl Scout cookie สอนให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ ด้วยการให้ขายคุกกี้ตั้งแต่เด็ก

หากคุณเป็นผู้หญิงที่อยากมีกิจการเป็นของตัวเอง หรือมีแฟนสาว หรือมีลูกสาว หรือพี่น้องสาวที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ บางทีเคสนี้อาจสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณครับ   Benz Co-founder สาวของเราก็เหมือนกับผู้หญิงหลายๆคนที่กลัวที่จะทำธุรกิจ และเธอเองก็มีโอกาสไปคุยกับเจ้าของธุรกิจหญิงชั้นนำ 10 คน ทุกคนมีความกลัว ตั้งแต่ก่อนก่อตั้ง ตอนทำธุรกิจ รวมทั้งหลังธุรกิจ มันมีความกลัวในทุกขั้นตอน   และวันนี้ Benz ก็พบสิ่งที่ทำให้เธอหายกลัว   Girl Scout cookies มีรายได้ต่อปีถึง $800 ล้าน รสยอดนิยมอย่าง Thin Mints, Samoas and Tagalongs ขายหมดภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน รสชาติใหม่ “Raspberry Rally” ที่ขายเฉพาะออนไลน์ขายหมดภายในไม่กี่ชั่วโมง แถมตัวองค์กรถูกจัดให้เป็น “โครงการที่สร้างผู้นำทางธุรกิจหญิง” ใหญ่ที่สุดในโลก    ฟังดู Girl Scout cookies น่าจะเป็นแบรนด์น้องใหม่ไฟแรงที่ขี่กระแส DEI  (Diversity, Equality and Inclusivity) แต่ไม่ใช่ครับ แบรนด์นี้คือคุณยายที่มีอายุมากกว่าร้อยปี …

Girl Scout cookie สอนให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ ด้วยการให้ขายคุกกี้ตั้งแต่เด็ก Read More »

Scroll to Top