Kamikatsu เมืองที่เคยตายกลับมีชีวิตด้วยการขาย Zero Waste Beer

Rise & Win คือชื่อบริษัทที่ผลิตเบียร์นี้ ชื่อที่บอก attitude ของเขาที่มีต่อความล้มเหลวอย่างดี เริ่มจาก ปี พ.ศ. 2546 ชาวบ้านในเมือง Kamitkatsu (คามิคัตสึ) ร่วมใจกันจะเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมือง Zero Waste แห่งแรกของญี่ปุ่น แต่เมืองนี้เป็นเมืองที่ใกล้ตายเพราะมีแต่คนแก่  คนหนุ่มสาวต่างเข้าไปทำงานในเมือง ไม่มีแม้แต่ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ต มีแค่ภูเขาและแม่น้ำที่สวยงาม 

.

เจ้าหน้าที่ประจำเมืองเลยหาบริษัทเอกชนเพื่อมาเป็นพาร์ทเนอร์ช่วยกันสร้างให้เมืองนี้มีชีวิตอีกครั้ง จนพบกับ SPEC bio laboratory Inc. ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับชีววิทยาศาสตร์สำหรับ B2B และไอเดียแรกที่พวกเขาทำกันคือ Refill Station ร้านขายของใช้ส่วนตัวและอาหารที่ให้ชาวบ้านนำภาชนะมาเติมเอง เพื่อแก้ปัญหา packaging waste 

.

ทำได้ 2 ปีพังไม่เป็นท่า เพราะชาวบ้านที่เป็นคนแก่ไม่ชินกับการซื้อแบบนี้ และธุรกิจนี้ก็ไม่ว้าวพอที่จะดึงคนนอกให้มาเที่ยวที่เมือง แต่ทีมงานก็ไม่ยอมแพ้ เก็บบทเรียนของความล้มเหลวแล้วเดินทางไปที่เมือง Portland สหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในช่วงเวลานั้นเพื่อหาแรงบันดาลใจ จนพบกับ Craft Beer

.

ชาวเมือง Portland นิยมดื่มเบียร์โดยเฉพาะ Craft Beer และคนญี่ปุ่นก็ชอบดื่มเบียร์มาก เบียร์ทำให้เกิดการพบปะและเชื่อมโยงกับผู้คน เลยเกิดไอเดีย “เบียร์ Zero Waste” ที่คนในเมืองอยากทำ คนนอกเมืองอยากมาลองกิน และเบียร์ทำให้เกิดพื้นที่สังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ทำให้เมืองมีชีวิต 

.

RISE & WIN จึงสร้างคอนเซป “reRise” ที่บอกถึงความเป็น Zero Waste รวมทั้ง spirit ที่ไม่อ่อนข้อให้ความล้มเหลว โดยนำกากมอลต์ที่เกิดจาดการผลิตเบียร์ซึ่งบริษัทเบียร์ทั่วไปจะทิ้ง มาเติมจุลินทรีย์เปลี่ยนเป็นปุ๋ยน้ำปลอดสารเคมี และใช้ปุ๋ยนี้รดต้นข้าวสาลีที่มาทำเป็นมอลต์ ส่วนถังไม้ที่ใช้หมักเบียร์ก็ใช้ถังไม้ที่ถูกทิ้งทั่วประเทศ 

.

RISE & WIN ยังเปิด “BBQ & General Store” ร้านคอนเซ็ปต์และบาร์ร้านอาหารพร้อมโรงเบียร์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นที่สังสรรค์ของคนในเมือง โดยตัวอาคารใช้ไม้ในเมืองไม่กิดคาร์บอนจากการขนส่ง และนำอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกทิ้งร้างในเมืองมาตบแต่งโดยการอัพไซเคิล เช่น โคมไฟจากขวดเปล่า หรือแต่งผนังด้วยเครื่องมือเก่าๆที่เข้ากับเครื่องจักรกลจนได้รางวัลชนะเลิศสถาปัตยกรรมนานาชาติ “WAN AWARDS” อาคารยั่งยืนประจำปี 2559 เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้านทุกคน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และบริษัทเอกชนที่ร่วมมือกันเปลี่ยนเมือง

.

Scroll to Top