เมืองที่มีค่าเฉลี่ยการรีไซเคิลสูงที่สุดในโลก ไม่ใช่ เวียนนา ที่จัดเป็นเมืองหลวงน่าอยู่ที่สุดในโลก (49%) หรือเมืองแถบสแกนดิเนเวีย โคเปนเฮเกน (57%) หรือ แวนคูเวอร์ (60%) แต่เป็นคามิคัทสึ (Kamikatsu) (80%) เมืองที่ทำให้การแยกขยะไม่ใช่การแยกขยะ
.
เราเลยอยากชวนคุณไปเรียนกับ ‘คามิคัตสึ (Kamikatsu)’ คอร์สนี้คุณจะได้เรียนการทำ zero waste แบบ immersive จนมันเข้าไปในตัวคุณ ทั้งความรู้ จิตวิญญาณ Purpose ของเมือง และ Kamikatsu ยังมีธุรกิจยั่งยืนมากมาย
.
แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ Kamikatsu เคยปวดหัวกับขยะที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดตามจำนวนประชาการและข้าวของที่เพิ่มขึ้น ชาวเมืองเลยรวมตัวกันของบจากรัฐบาลเพื่อสร้างเตาเผาขยะ แต่ใช้ไม่นานก็ต้องเลิกเพราะเกิดสารไดออกซินที่เป็นอันตราย แล้วจะจัดการขยะยังไงหล่ะ เงินก็หมดแล้ว จะขนไปจัดการที่เมืองอื่นก็แพง พอเข้าตาจนมันก็เหลือทางรอดเดียว คือ รีไซเคิล
.
และเมืองนี้ทำให้รีไซเคิลไม่ใช่ภาระแต่สนุกที่จะทำ จนสามารถแยกขยะได้ถึง 45 ประเภท โดยเริ่มจากแจกคู่มือให้ทุกบ้านและส่งคนไปสอนบางบ้านที่เจอกับความท้าทายในการแยก
.
จากนั้นสร้างโรงขยะที่ไม่ใช่โรงขยะ แต่เป็นที่สังสรรค์ของชาวเมืองโดยทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ Why Zero Waste Center และร้าน Kuru Kuru Shop เพื่อ Reused สิ่งของที่คนไม่ใช้แล้วอย่าง จานชาม เสื้อผ้า ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ให้กับคนที่มีต้องการใช้แบบฟรีๆ และมีเครื่องชั่งน้ำหนักวางอยู่ข้างๆ เพื่อให้ชาวบ้านรู้ว่าตัวเองมีส่วนลดขยะไปกี่กิโลกรัม
.
ต่อมาก็สร้างร้าน Kuru Kuru Kobo เพื่อเลือกขยะที่ไม่สามารถ reused ได้มา upcycle เป็นสินค้าใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง เสื้อผ้า กระเป๋า โดยให้คนแก่เป็นคนทำเพื่อให้เขามีรายได้ ไม่เหงา และรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง สินค้าทุกชิ้นจะมีรูปคุณตา คุณยายที่เป็นคนทำติดไว้ ให้คนซื้อได้รู้รู้เรื่องราวของพวกเขาและรู้สึกคอนเเนคกับคนผลิต
.
มีการ collab กับภาคเอกชนเพื่อแจกคูปองใช้สะสมแต้มแลกของตามปริมาณขยะสะสมที่นำมารีไซเคิล
.
มีป้ายอัพเดทปริมาณขยะที่นำชาวบ้านนำมารีไซเคิล และรายได้ของเมืองที่ได้จากการขายขยะ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของเมืองที่เกิดจากการทำลายขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้
.
ร่วมมือกับเอกชนเปิดร้าน Rise and Win Brewing BBQ and General Store บาร์ร้านอาหารพร้อมโรงเบียร์เพื่อเป็นจุดสังสรรค์ของชาวเมือง