เคสเฟลๆ กับ Allbirds รองเท้ารักษ์โลกสุดฮิตใน silicon valley ที่ไม่มีใครใส่

จากรองเท้าทำจากขนสัตว์สุดฮอทสวมใส่โดย Barack Obama และ tech guys/gals ใน Silicon Valley ที่เป็นสัญลักษณ์ของความเท่ และ IPO ในปี 2021 ด้วยมูลค่าตลาด $4 billion สิ้นปี 2021 กลับจบลงด้วยขาดทุน $45.4 million จากยอดขาย $277.5 million 

 

Allbirds เป็นบทเรียนสำคัญ การที่เราผลิตสินค้ารักษ์โลก ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็น License สู่ความสำเร็จ เพราะมันยังมีองค์ประกอบสำคัญมากมาย รวมทั้งหลุมพรางต่างๆท่ีล่อให้เราตกลงไป 

 

“All I want to know is where I’m going to die, so I’ll never go there.” Charlie Munger ว่าไว้

 

Allbirds พลาดแบบไหน เรามาดูกัน จะได้ไม่ต้องล้มตามเขา

 

Background

  1. ปี 2008 Tim Brown หนึ่งใน co-founder เกิดไอเดียที่จะทำรองเท้าที่ไม่มีโลโก้ และไม่ได้ผลิตจาก วัสดุสังเคราะห์ และหลังจากนั้นก็พบกับ Joey Zwillinger เลยมาตั้งบริษัทกัน
  2. “I wondered if there was an opportunity to help create a brand that could change the way people thought about consumption” Zwillinger ว่าไว้ ทั้งคู่เชื่อว่าผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเลิกซื้อของเพื่อช่วยโลก แต่เป็นตัวสินค้าเองต่างหากที่ต้องผลิตด้วยวิธีการที่แตกต่างจากเดิม
  3. Allbirds เปิดตัวในปี 2016 ซึ่งถูกเวลามาก ในช่วงที่คนตื่นตัวกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟป่าที่ควบคุมไม่ได้แคลิฟอร์เนีย พายุเฮอริเคนในฟลอริด้า และเหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างออกมา พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเวลาของเราเหลือไม่มากแล้วที่จะแก้ไขภาวะโลกร้อน
  4. ชื่อ Allbirds มีที่มาจากประเทศนิวซีแลนด์บ้านเกิดของ Tim Brown เมื่อครั้งที่เกาะนิวซีแลนด์ถูกค้นพบครั้งแรก สิ่งมีชีวิตที่มีเยอะที่สุดคือนกไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 
  5. “The Wool Runner” รองเท้ารุ่นแรกที่ทำจากวัสดุทอจากขนแกะ  พื้นรองเท้าชั้นกลางที่ทำจากโฟมผลิตจากอ้อย และสายรัดรองเท้าที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลอได้รับการตอบรับดีเกินขาดและขึ้นชื่อเรื่อง “ความสบายขณะสวมใส่” และ “วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” Allbirds เริ่มจากขายในออนไลน์และเปิดร้านครั้งแรกในปี 2017 ในนิวยอร์ค 
  6. ออกรองเท้า limited-edition  ปี 2018 ที่คนเข้าคิวยาวเหยยียดจนพนักงานอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบกับ Supreme 

ทำไมแบรนด์รักษ์โลกที่เปิดตัวแรงถึงหกล้มหัวทิ่มไม่เป็นท่า เราไปดูกัน

“โตเร็วแบบไม่ focus”

  1. หลังจากประสบความสำเร็จกับ “the Wool Runner” Allbirds พยายามที่จะขยายกลุ่มฐานลูกค้าจากอายุ 30- ถึง 40 ปี สู่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจรองเท้าวิ่ง รวมเท้ารองเท้าไลฟ์สไตล์ดีไซน์เก๋ สีสดใส รวมทั้งออกสินค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกางเกงใน เสื้อแจ็คเก็ต รองเท้ากอล์ฟ แต่ไม่มีสินค้าไหนประสบความสำเร็จสักอัน 
  2. Allbirds เปิดตัว sneaker หมายเลข 2 ในปี 2020 “the Tree Dasher” ที่ทำจาก ไฟเบอร์ต้นยูคาลิปตัส เป็น entry-level running shoe ชนกับ Nike และ Adidas 

จากนั้น 2 ปีต่อมาก็ออกรุ่น” the Tree Flyer” 

  1. ยอดขายของ the Flyer เป็นที่น่าผิดหวัง ลูกค้าหลายคนบ่นว่ารองเท้ารุ่นนี้ไม่มีทั้ง support และ cushioning สำหรับคนที่วิ่งจริงจัง ในขณะที่ราคาแพงขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆเกือบ 2 เท่า เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของ Allbirds ที่มีจุดแข็งเรื่อง ความสบาย แต่ไม่มีจุดแข็งเรื่องของเทคโนโลยีรองเท้าวิ่ง แล้วโดดไปแข่งกับ Nike และ Adidas
  2. ออกผลิตภัณฑ์ชุดออกกำลังกายที่ทำจากเนื้อผ้าทอจากขนแกะ โดย Allbirds เคลมว่าดูดซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี แต่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ ถ่ายรูปตัวเองกับชุดส่งไปให้บริษัทแล้วบอกว่า ” ใส่วิ่งแล้วตัวเปียกเหมือน “I had taken a shower with the shirt on”
  3. ปี 2021 วางขาย leggings ที่ทำจากขนสัตว์ที่บางจนเห็นกางเกงใน ไม่ใช่ว่าบริษัทไม่รู้แต่เป็นเพราะสั่งทำไปแล้วหลายหมื่นชิ้น มันเลยต้องขาย แล้วมันก็ขายไม่ดีตามคาด สุดท้ายก็ต้องเลิกขายในปีถัดไป
  4. “The Pacer” รองเท้าที่ทำจากหนังวีแกน เปิดตัวปี 2022 ก็น่าผิดหวังเหมือนๆกันเช่นเดียวกับแจ็คเกตและชุดเดรสที่ทำจากเนื้อผ้าขนแกะราคา $250 และ $88 จนต้องลดราคาเพื่อเคลียร์สต๊อกสินค้า
  5. ปัญหาใหญ่ คือ “คุณภาพและ ความทนทาน” ถึงแม้วัสดุที่ทอจากขนแกะจะดีกับโลกมากกว่าไนล่อนและผ้าโพลีเอสเตอร์ แต่ความทนทานนี่สอบไม่ผ่านเอาซะเลย รองเท้าของ Allbirds เป็นรูง่ายมาก ทั้งที่ใช้ไปได้ไม่เพียงกี่เดือน ส่วน leggings ก็บางจนเห็นกางเกงในและซักไม่กี่ครั้งก็เสียทรง
  6. บริษัทจ้างที่ปรึกษา the Boston Consulting Group เพื่อทำวิจัยกับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย และได้ข้อสรุปว่า “กลับไปสู่จุดเริ่มต้น” Allbirds  พยายามอย่างมากที่จะเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่จนไม่ได้โฟกัสที่ core strength

“มี CEO 2 คน ที่มองจุดแข็งและ growth strategy ต่างกัน”

  1. ช่วงเริ่มต้น  co-founder  Tim Brown และ Joey Zwillingerดำรงตำแหน่ง co-ceo ไปด้วยกัน ทั้งคู่เลือกให้เป็นแบบนี้เพราะมองว่าประสบการณ์และความสามารถ ถึงจะแตกต่างแต่ก็ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน

  2. ช่วงแรกๆทุกอย่างก็ไปด้วยดี จนบริษัทเริ่มโต ปัญหาก็ตามมาทันที เมื่อ CEO ทั้ง 2 มีมุมมองธุรกิจแตกต่างกันและไม่ตกลงกัน ในขณะที่ Tim Brown อยากเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ด้วยรองเท้าวิ่งดีไซน์เก๋ๆ Joey Zwillinger กลับอยากจับวัยกลางคนอายุ 45 ที่ชอบรองเท้าใส่สบาย Allbirds เลยเป๋ ออกผลิตภัณฑ์สากกะเบือยันเรือรบ สุดท้าย Tim Brown เลยโยกไปเป็น Chief Innovation Officer ปล่อยให้ Joey Zwillinger เป็น CEO คนเดียว

  3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นช่วยตอกย้ำ 1 ในไบเบิลของ startup ใน silicon valley “คุณสามารถสร้างนวัตกรรมอะไรก็ได้ แต่อย่าสร้างนวัตกรรม organization structure มันมีเหตุผลของมัน ทำไม ceo ถึงมีคนเดียว ทำไมถึงต้องมีแผนกเซลล์ Marketing HR ฯลฯ

และบทเรียนที่สำคัญที่สุดก็คือ “ไม่ว่าสินค้าเราจะดีกับโลกมากแค่ไหน แต่มันจะขายไม่ได้ ถ้าคุณภาพสู้คู่แข่งไม่ได้”

จากงานวิจัยของ Wedbush Securities “Environmental concerns” เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นลำดับสุดท้ายในการซื้อรองเท้าและเสื้อผ้า สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “ความสบาย”  “ราคาที่เหมาะสม” และ “ดีไซน์” แต่ Allbirds กลับทำตรงข้าม

“ถอดบทเรียน”

  1. ไม่ว่าผลิตภัณฑ์จะ sustainability แค่ไหนก็ไม่มีคนใส่ ถ้าคุณภาพไม่ดี
  2. “Lost Focus” เคสความล้มเหลวสุดคลาสสิคในโลกธุรกิจ การที่คนชอบ sneaker ขนสัตว์ของ allbirds ไม่ได้หมายความว่าเขาจะชอบรองเท้าวิ่ง ชุดออกกำลังกาย ชุดชั้นใน legging แจ็คเกต และรองเท้ากอล์ฟ
  3. จุดแข็งคืออะไร silicon valley เรียกสิ่งนี้ว่า unfair advantage อะไรที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่น allbirds คิดว่าจุดแข็งของตัวเองคือแบรนด์เครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์รักษ์โลกสุดคูล แต่ consumers เปิดใจให้กับรองเท้าผ้าใบเท่านั้น แถม techonlogy และคุณภาพก็สู้คู่แข่งไม่ได้ เมื่ออ่าน competitive advantage ผิด growth strategy ก็พัง
  4. มีเพียงไม่กี่บริษัทที่มี CEO 2 คนแล้วประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ CEO ทั้ง 2 คน มีมึมมองและดำเนินธุรกิจแตกต่างกัน ผลลัพธ์ก็เป็นอย่างที่เห็น 


UN SDG Goal:  Responsible Consumption and Production

Writer : ยอด Co-founder, goodwill compounding

Source : Wall Street Journal

Photo credit : luxe.digital



Scroll to Top